จบปัญหา Office Syndrome ปวดคอบ่าไหล่ แก้ที่ต้นเหตุ

Knowledge
|

Office Syndrome คืออะไร

ปวดคอ บ่า ไหล่ ไล่ไปจนถึงศีรษะ บางครั้งไมเกรนก็ถามหา ทั้งหมดนี้คืออาการที่คนวัยทำงานส่วนมากต้องเคยเจอ เพราะนี่คืออาการของออฟฟิศซินโดรม ซึ่งเกิดจากการนั่งทำงานเป็นเวลานาน หรือท่าทางในการเคลื่อนไหวที่เหมาะสม หลายคนพยายามแก้ออฟฟิศซินโดรมด้วยการนวดคลายเส้น ฝังเข็ม หรือยอมเสียเวลาทำกายภาพบำบัดเป็นเวลานาน แต่อาการปวดต่าง ๆ ก็ยังแวะเวียนมาเช่นเดิม ถ้าเช่นนั้นลองมาดูกันว่า เราจะแก้ออฟฟิศซินโดรมจากต้นตอได้อย่างไร

Office Syndrome คืออะไร

Office Syndrome คือ อาการปวดกล้ามเนื้อที่มีสาเหตุหลักจากการใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำ ๆ ติดต่อกันเป็นเวลานาน จนทำให้กล้ามเนื้อเกิดการอักเสบและปวดเมื่อย หรือชาตามร่างกาย โดยมากแล้ว office syndrome อาการหลัก ๆ คือปวดบริเวณคอ บ่า ไหล่ หลัง แขน หรือข้อมือ ซึ่งเป็นจุดที่เราใช้ทำงานเป็นประจำ

Office Syndrome สาเหตุมาจากอะไร

Office Syndrome มีสาเหตุหลักจากการนั่งทำงานเป็นเวลานานโดยไม่เปลี่ยนท่า หรือท่าทาง การขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวร่างกายที่ไม่ถูกต้อง เช่น การจัดวางอุปกรณ์ทำงาน หรือความสูงของโต๊ะทำงานที่ไม่เหมาะสม การเผลอนั่งตัวงอระหว่างทำงาน หรือการนั่งไขว่ห้างเป็นประจำ เมื่อกล้ามเนื้อถูกใช้อย่างผิดวิธี พอนานไปก็เริ่มหดเกร็ง ยืด หรืออาจขมวดเป็นก้อน จนรู้สึกถึงความเจ็บปวด หากยังไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม กล้ามเนื้อจะเริ่มดึงรั้งกันไปมาทำให้อาการปวดจากจุดหนึ่งลามอีกจุดหนึ่ง ค่อยลุกลามไปถึงระบบประสาท และอาจกลายเป็นโรคที่อันตรายกว่าเดิมอย่างกระดูกสันหลังคด หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท หรือแขนขาอ่อนแรงได้

 อาการ Office Syndrome

Office Syndrome อาการเบื้องต้นเป็นอย่างไร

Office syndrome อาการเบื้องต้นจะคล้ายปวดเมื่อยทั่วไป ก่อนจะลุกลามจนอาการหนักขึ้น แนะนำให้สังเกตอาการเบื้องต้นต่อไปนี้ หากมีอาการเรื้อรังนั่นอาจเป็นที่มาของ Office Syndrome

  • ปวดกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะคอ บ่า ไหล่ สะบัก และหลัง เมื่อนั่งทำงานนาน ๆ หรือนั่งผิดท่า
  • ปวดเมื่อยที่กล้ามเนื้อต้นคอ
  • ปวดเกร็ง รู้สึกตึงบริเวณขา จากการนั่งนาน หรือนั่งผิดท่า เช่น นั่งไขว้ห้าง ทำให้เลือดไหลเวียนไม่ดี
  • ปวดข้อมือ มือชา หรือนิ้วล็อค จากการใช้เมาส์ หรือใช้มือควบคุมคอมพิวเตอร์ ทำให้กล้ามเนื้อกดทับเส้นประสาทและเส้นเอ็น ก่อตัวเป็นพังผืด และทำให้มีปัญหาในการขยับมือและนิ้ว
  • ปวดตา ตาพร่ามัว จากการใช้สายตาต่อเนื่องเป็นเวลานาน
  • ปวดหัว ไมเกรน เป็นอาการต่อเนื่องจากการปวดตึงที่บ่า ไหล่ ทำให้เลือดขึ้นไปเลี้ยงศีรษะไม่สะดวก

ใครมีโอกาสเป็นโรค Office Syndrome ได้บ้าง

Office Syndrome สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน หากใช้ร่างกายไม่ถูกต้อง โดยเฉพาะการนั่งอยู่กับที่เป็นเวลานาน โดยกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดอาการ Office Syndrome คือ คนที่ทำงานในหรือใช้ชีวิตดังต่อไปนี้

●     พนักงานออฟฟิศ กลุ่มเป้าหมายหลักของ Office Syndrome เพราะคนกลุ่มนี้ส่วนมากมีพฤติกรรมนั่งนาน และท่าทางการนั่งไม่ถูกหลักยศาสตร์ (Ergonomics) ซึ่งเป็นหลักการจัดวางท่าทางให้เหมาะสมกับสรีระร่างกาย ประกอบกับการใช้สายตาตลอดทั้งวัน ร่วมกับการใช้เมาส์ ทั้งหมดนี้รวมกันทำให้เกิด Office Syndrome ได้มากกว่าคนกลุ่มอื่น

●     ผู้ที่ยกของหนักเป็นประจำ ทำให้ต้องยก ลาก หรือแบกหามสิ่งของที่มีน้ำหนักมาก เป็นอันตรายต่อกล้ามเนื้อ

●     พนักงานขับรถ ที่ต้องนั่งในท่าทางเดิม ๆ เป็นเวลานาน

●     ผู้ที่ขาดการออกกำลังกาย หรือไม่ค่อยเคลื่อนไหวร่างกาย ทำให้กล้ามเนื้อยึดติดกัน หรือทำงานไม่เต็มที่

การป้องกันการเกิดโรค Office Syndrome

สำหรับใครที่รู้ตัวว่ามีความเสี่ยงเป็น Office Syndrome หรืออยู่ระหว่างสังเกตอาการ มีคำแนะนำง่าย ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิด Office Syndrome ดังนี้

  • ไม่นั่งทำงานเป็นเวลานาน โดยให้หยุดพักทุก 1 ชั่วโมง เพื่อยืดเส้นยืดสาย หรือเปลี่ยนอิริยาบถ
  • ฝึกนิสัยให้การทำงานให้ดีต่อร่างกายมากขึ้น เช่น การมีอุปกรณ์กายบริหารเล็ก ๆ ติดโต๊ะทำงาน อย่างลูกบอลบีบมือ หรือฝึกท่ายืดกล้ามเนื้อง่าย ๆ บนโต๊ะทำงาน รวมทั้งจัดสภาพแวดล้อมในการทำงานให้ดีต่อสุขภาพ ทั้งแสงสว่าง ระดับความสูงของโต๊ะเก้าอี้ และการใช้คอมพิวเตอร์
  • หมั่นยืดเหยียดกล้ามเนื้อเป็นประจำ และออกกำลังกายเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
  • หากต้องทำงานที่ยกของหนัก ควรมีอุปกรณ์ช่วยและทำงานในท่าทางที่เหมาะสม

 การแก้ Office Syndrome

แนวทางการแก้ Office Syndrome

การแก้ออฟฟิศซินโดรม ทำได้หลายแนวทาง จากระดับเบื้องต้น ไปจนถึงการรักษาด้วยเทคนิคทางการแพทย์ ซึ่งขึ้นอยู่กับระยะของโรค และการใช้เวลาในการรักษา โดยสามารถแบ่งแนวทางการรักษาเป็น 3 กลุ่มหลัก ๆ ดังนี้

●     การใช้หลักการศาสตร์เพื่อฟื้นฟูเบื้องต้น เริ่มจากการวิเคราะห์ท่าทางการนั่ง ยืน หรือการทำงาน เพื่อหาจุดที่เป็นต้นเหตุของอาการ Office Syndrome จากนั้นจึงเริ่มปรับท่าทางตามหลักยศาสตร์ ซึ่งเป็นการนำเอาหลักวิทยาศาสตร์สุขภาพมาเชื่อมโยงกับลักษณะการทำงาน เพื่อจัดท่าทางของร่างกายให้ถูกต้อง รวมทั้งการใช้อุปกรณ์เสริมเพื่อบรรเทาการใช้กล้ามเนื้อซ้ำ ๆ ติดต่อกัน เช่น เมาส์ที่ออกแบตามหลักยศาสตร์ ลดการขยับขึ้นลงของข้อมือ เก้าอี้ที่สามารถปรับชิ้นส่วนต่าง ๆ ให้เข้ากับสรีระ เป็นต้น

●     การใช้การแพทย์ปกติทั่วไปเพื่อการรักษา เบื้องต้นอาจใช้การรับประทานยาแก้ปวด หรือยาคลายกล้ามเนื้อ หากยังไม่ดีขึ้นสามารถใช้การฝังเข็มในจุดที่รู้สึกปวดเกร็ง เพื่อลดความตึงของกล้ามเนื้อและลดความไวของปลายประสาท เป็นการรักษาที่เน้นให้หายปวดอย่างรวดเร็วภายใน 1-2 วัน

ทั้งนี้ มีข้อควรระวังเกี่ยวกับการใช้ยาเพื่อการรักษา โดยเฉพาะยาแก้ปวดและยาคลายกล้ามเนื้อที่คนส่วนมากรับประทานเพื่อลดอาการออฟฟิศซินโดรม ยากลุ่มนี้มีหากรับประทานมากเกินไปจะมีผลต่อตับและไต เพราะร่างกายจะขับสารเคมีออกมาทางตับและไต จึงเกิดการสะสมและอาจทำให้เป็นโรคตับหรือไตวายได้ 

●     การทำกายภาพบำบัด เริ่มจากแพทย์วินิจฉัยอาการปวด และส่งไปทำกายภาพบำบัดเพื่อฟื้นฟูระยะยาวกับนักกายภาพบำบัด โดยจะมีการใช้เครื่องมือกายภาพ เช่น เครื่องอัลตราซาวด์ เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า และอุปกรณ์ช่วยในการยืดกล้ามเนื้อ รวมทั้งให้คำแนะนำในการยืดเหยียดด้วยตัวเองเพื่อทำอย่างต่อเนื่องหลังการรักษา

ข้อควรรู้ของการทำกายภาพบำบัดก็คือ เมื่อทำแล้วจะต้องทำอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ ซึ่งต้องเสียเวลาทำค่อนข้างมาก หากขาดช่วง หรือทำ ๆ หยุด ๆ ก็จะกลับมามีอาการปวด และต้องเริ่มต้นทำกายภาพใหม่อีกครั้ง ซึ่งเท่ากับเสียเวลาการรักษาในช่วงแรก

Ozone (IM): ฟื้นฟูสุขภาพจากภายในเพื่อจบปัญหา Office Syndrome

จะเห็นได้ว่า การรักษา Office Syndrome ส่วนมากจะเป็นการรักษาตามอาการ และต้องมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมควบคู่ไปด้วยเพื่อให้อาการทุเลาลง แต่รู้หรือไม่ว่าเราสามารถแก้ออฟฟิศซินโดรมจากต้นตอได้ ด้วยการใช้เทคนิคของแพทย์ทางเลือกใหม่ที่ออกแบบโปรแกรมทำเพียงครั้งเดียว แต่ให้ผลลัพธ์ที่ยาวนาน เน้นการดูแลในระดับเซลล์ ผ่าน MSCs Therapy และ Ozone (IM) ซึ่งเป็นการฉีดออกซิเจนเข้ากล้ามเนื้อ เป็นการรักษาที่เห็นผลทันทีเพราะทำให้กล้ามเนื้อที่เกร็งแข็งอ่อนตัวลง 

ข้อดีของวิธีการ MSCs Therapy หรือเซลล์บำบัดควบคู่กับ Ozone (IM) ก็คือผลลัพธ์ดีขึ้นทันทีหลังฉีดครั้งแรกจากการใช้ออกซิเจนเข้าฟื้นฟูกล้ามเนื้อ และเป็นผลลัพธ์ในระยะยาว เพราะเซลล์ที่ฉีดจะเข้าไปซ่อมแซมเซลล์ที่อักเสบ หลายคนทำครั้งเดียวได้ผลนานนับปี (ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล) ที่สำคัญคือระยะเวลาของโปรแกรมที่น้อยกว่าการรักษารูปแบบอื่น มาคลินิกเพียงครั้งเดียวและใช้เวลาไม่นาน จึงเป็นแนวทางการบรรเทาหรือช่วยอาการออฟฟิศซินโดรมที่เห็นผลคุ้มค่ากว่าการรักษาแบบอื่นที่ต้องจ่ายเงินหลายครั้งและใช้เวลานานทำการรักษาหลายครั้ง ทั้งยังไม่สามารถรักษาได้ลงลึกถึงต้นตอที่แท้จริง

ทีมแพทย์ด้านเวชศาสตร์ชะลอวัยของ R3 Life Wellness Center ได้ออกแบบโปรแกรมสำหรับการบรรเทาความทรมานจาก Office Syndrome โดยเริ่มจากการให้เซลล์ต้นกำเนิดที่คัดเลือกคุณภาพอย่างดีจากห้องปฏิบัติการของพาร์ทเนอร์ชั้นนำ เป็นเซลล์ Passage 3 ซึ่งเป็นช่วงที่พร้อมใช้งาน มีประสิทธิภาพสูงในการบรรเทาการอักเสบ เข้าฟื้นฟูเซลล์ที่เสื่อมสภาพตามจุดต่าง ๆ ร่วมกับการทำ Ozone (IM) เพื่อเพิ่มอ็อกซิเจนให้กล้ามเนื้อ ช่วยให้การไหลเวียนเลือดดียิ่งขึ้น โปรแกรมนี้นอกจากช่วยลดอาการปวดได้ลึกถึงต้นตอแล้ว ยังลดการเพิ่มอนุมูลอิสระ และทำให้ร่างกายฟื้นตัวเร็ว ไม่อ่อนเพลีย หรือมีอาการเจ็บปวดจากการรักษา

ออฟฟิศซินโดรมไม่ใช่แค่อาการปวดเมื่อยระหว่างวันจากการทำงาน เพราะถ้าไม่รักษาให้หายขาด หรือมีอาการกำเริบบ่อยครั้งอาจลุกลามไปยังกล้ามเนื้อต่าง ๆ และระบบประสาท จนเป็นปัญหาใหญ่ เสี่ยงเกิดโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท กระดูกสันหลังคด หรือถึงขั้นกล้ามเนื้อแขนขาอ่อนแรง

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ปวดคอ บ่า ไหล่ รักษาเท่าไหร่ก็ไม่หายขาด โปรแกรมฟื้นฟูจาก R3 Life Wellness Center อาจเป็นคำตอบของปัญหา ด้วยการดูแล บรรเทาอาการอย่างตรงจุด โดยทีมแพทย์ดีกรีอเมริกันบอร์ดด้านเวชศาสตร์ชะลอวัย (Anti-Aging) และได้รับการรับรองจากสมาคมเซลล์บำบัดแห่งประเทศไทย พร้อมการดูแลอย่างมืออาชีพ เพื่อบอกลา Office Syndrome ให้คุณกลับมาใช้ชีวิตได้เต็มที่อีกครั้ง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือสำรองเวลาเข้ารับบริการ ได้ที่

R3 Life Wellness Center 42 อาคาร ไอ ซี พี ชั้น 4 ถนนสุรวงศ์ แขวงสี่พระยา เขตบางรัก กทม.

ปรึกษาฟรี! กับทีมแพทย์เวชศาสตร์ชะลอวัยดีกรีอเมริกันบอร์ด

กรุณาให้ข้อมูล เพื่อทางเราจะรีบติดต่อกลับโดยเร็วที่สุดค่ะ

and we will get back to you soon
Cookies & Privacy

This R3 Life Wellness Center website uses cookies to personalize content and analyse traffic in order to offer you a better experience.