ความเสื่อมสภาพของเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย ถือเป็นหนึ่งในความเสื่อมที่เกิดขึ้นตามวัยและเกิดขึ้นได้กับทุกคน จนเกิดเป็นความเจ็บป่วย หรือโรคภัยต่างๆ ตามมา รวมถึงอาการขี้หลงขี้ลืมในผู้สูงอายุ ที่หากลองจับสังเกตดีๆ อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคอัลไซเมอร์อยู่ก็เป็นได้
วันนี้เราจะพาคุณมาเช็กอาการหลงลืมในผู้ใหญ่ว่าเป็นอาการลงลืมตามวัยหรือเป็นสัญญาณจากโรคอัลไซเมอร์ รวมถึงสาเหตุและอาการที่แตกต่างกัน เพื่อใช้สังเกตอาการผู้สูงอายุใกล้ตัวและป้องกันโรคอัลไซเมอร์ได้อย่างทันท่วงที พร้อมอัปเดตความก้าวหน้าของสเต็มเซลล์ ที่เกี่ยวข้องกับโรคอัลไซเมอร์ในบทความนี้
อาการหลงลืมตามวัยและอัลไซเมอร์เกิดจากอะไร
หากผู้สูงอายุที่บ้านเริ่มมีอาการหลงลืม เราจะทราบได้อย่างไรว่าอาการนั้นมาจากโรคชราทั่วไปหรือกำลังเสี่ยงโรคอัลไซเมอร์ เนื่องจากลักษณะและพฤติกรรมหลายๆ อย่างในระยะแรกมีความคล้ายกัน จนยากต่อการแยกออกจากกัน แต่หากสังเกตดีๆ ทั้ง 2 อาการนี้ ยังมีข้อแตกต่างกัน
1. โรคชราตามวัย เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้ตามธรรมชาติ พบมากในผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป เกิดจากความเสื่อมตัวของเซลล์สมอง อาจมีอาการคิดช้า ตัดสินใจช้า นึกคำพูดไม่ออก หลงลืมในบางครั้ง เช่น ลืมชื่อเพื่อนที่ไม่ได้เจอกันนานๆ ลืมสิ่งของที่วางไว้ แต่ถ้าหากถูกเตือน หรือบอกใบ้ก็จะสามารถจำได้เช่นเดิม
2. โรคอัลไซเมอร์ เกิดจากความเสื่อมของการทำงานหรือโครงสร้างเนื้อเยื่อในสมอง ซึ่งไม่ใช่การเสื่อมของเซลล์โดยธรรมชาติ จึงต่างกับลักษณะหรืออาการโรคชราทั่วไป โดยเป็นความผิดปกติที่เกิดจากสารเบต้า-อะไมลอยด์ (Beta-Amyloid) ซึ่งเป็นโปรตีนชนิดที่ร่างกายไม่สามารถกำจัดออกไปได้อย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการสะสมและเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ เมื่อสารนี้เข้าไปเกาะกับเซลล์สมอง จึงเกิดเป็นการขัดขวางการสื่อสารระหว่างเซลล์ ทำให้เนื้อสมองฝ่อและตายไป จึงส่งผลต่อความทรงจำและการเรียนรู้ของผู้ป่วยได้ในที่สุด
สังเกตความแตกต่าง ระหว่างโรคชราและโรคอัลไซเมอร์
1. อาการโรคชราตามวัย
อาการของโรคชราโดยทั่วไป มักมีอาการเคลื่อนไหวได้ช้าลง การคิดหรือตัดสินใจช้าลง รวมถึงมีอาการขี้หลงขี้ลืม และมีปัญหาในการนอนหลับ เป็นต้น โดยทั่วไปจะเป็นอาการหลงลืมที่ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพรุนแรง ยังสามารถช่วยเหลือตัวเองและใช้ชีวิตประจำวันได้
2. อาการโรคอัลไซเมอร์
แม้ในระยะแรกเริ่มจะคล้ายอาการหลงลืมจากความชราทั่วไป แต่สำหรับผู้สูงวัยที่มีอาการอัลไซเมอร์จะทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลต่อความจำ กระบวนการคิดและพฤติกรรม จนไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ โดยอาการแรกเริ่มของโรคอัลไซเมอร์ ผู้สูงวัยอาจมีอาการสับสน หลงลืมวันเวลา หรือลืมสิ่งที่พึ่งพูดไป ย้ำคิดย้ำทำ ชอบถามคำถามซ้ำๆ อารมณ์เสียง่าย ก้าวร้าว ในระยะรุนแรงร่างกายจะโทรมลงมาก หรือไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้และไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ จนอาจถึงขั้นต้องมีผู้ดูแลในที่สุด
สเต็มเซลล์กับการลดความเสี่ยงของโรคอัลไซเมอร์
อัลไซเมอร์เป็นหนึ่งในโรคที่ยังไม่มียาที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ มีเพียงยาที่ช่วยควบคุมอาการต่างๆ ให้น้อยลงเพียงชั่วคราวเท่านั้น หากแต่ในปัจจุบันมีทางเลือกการรักษาร่วม โดยการนำสเต็มเซลล์มาใช้เพื่อชะลอความเสื่อมของเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย สำหรับอาการอัลไซเมอร์ในระยะแรกเริ่มสามารถใช้สเต็มเซลล์เข้ามาป้องกันและชะลออาการได้ ซึ่งเป็นการลดความเสี่ยงในผู้สูงอายุที่มีโอกาสเป็นโรคอัลไซเมอร์ในอนาคต
โดยเป็นกระบวนการนำสเต็มเซลล์ชนิด Amnion Stem Cell ที่สกัดจากเยื่อหุ้มรก ซึ่งเป็นสเต็มเซลล์ชนิดที่มีประสิทธิภาพในการฟื้นฟูสมองและตับได้โดยตรง ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์สมอง และใช้สเต็มเซลล์มากระตุ้นการเจริญของเนื้อเยื่อที่สึกหรอไป ส่งผลให้เซลล์สื่อประสาทสื่อสารกันได้ดีขึ้น
ความคาดหวังว่า ‘โรคอัลไซเมอร์’ สามารถรักษาหายได้ด้วยสเต็มเซลล์ในอนาคต
ด้านการวิจัยและศึกษาเกี่ยวกับสเต็มเซลล์ในการรักษาโรคอัลไซเมอร์ยังอยู่ในขั้นตอนของการทดลองและศึกษา ซึ่งผลการศึกษาค้นคว้าได้ให้ผลลัพธ์ไปในทางเดียวกันว่า มีความเป็นไปได้ที่สเต็มเซลล์จะเข้ามาช่วยลดความเสื่อมตัวของเซลล์สมองและช่วยฟื้นฟูสร้างเนื้อเยื่อสมองทดแทนได้ในอนาคต เพราะด้วยความสามารถของสเต็มเซลล์ที่แบ่งตัวกระตุ้นการเจริญของเนื้อเยื่อได้อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เนื้อเยื่อฟื้นฟูได้อย่างมีประสิทธิภาพและพัฒนาไปเป็นเซลล์ชนิดต่างๆ ของร่างกายได้
ซึ่งโรงพยาบาล "ศิริราช" ได้ออกมาให้ข้อมูลว่า สามารถแยกสเต็มเซลล์บริสุทธิ์จากน้ำคร่ำ เพื่อรักษาโรคการเสื่อมถอยของเซลล์ ทั้งอัลไซเมอร์ พาร์กินสัน และเบาหวาน ทั้งยังเตรียมการทำธนาคารสเต็มเซลล์สำรองวิจัยและใช้ปลูกถ่ายรักษาในอนาคตอีกด้วย นับว่าเป็นสัญญาณที่ดีสำหรับการรักษาโรคในอนาคตเป็นอย่างมาก เพราะอาการอัลไซเมอร์นอกจากจะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของผู้ป่วยแล้ว ผู้ดูแลยังต้องมีความอดทนและมีความรู้ความเข้าใจในอาการของผู้ป่วยเป็นอย่างดีอีกด้วย ฉะนั้น การสังเกตและเฝ้าระวังอาการเริ่มต้นจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะยังสามารถป้องกันและชะลออาการได้
สำหรับท่านใดที่กังวลและสังเกตเห็นพฤติกรรมผู้สูงอายุใกล้ตัวมีอาการหลงลืม หรือกำลังเสี่ยงเป็นอัลไซเมอร์อาการในระยะเริ่มต้น ควรเข้ารับการปรึกษาจากแพทย์โดยเร็ว ทั้งนี้หากต้องการป้องกันและชะลอความเสื่อมของเซลล์ร่างกายโดยการใช้สเต็มเซลล์รักษาร่วม ที่ R3 Life Wellness Center มีแพทย์ดูแลโดยทีมแพทย์ดีกรีอเมริกันบอร์ดด้านเวชศาสตร์ชะลอวัย (Anti-Aging) และได้รับการรองรับจากสมาคมเซลล์บำบัดแห่งประเทศไทย ในการใช้สเต็มเซลล์คอยให้คำปรึกษาและบริการ สามารถเข้ารับบริการได้ตลอดระยะเวลาทำการ
รายละเอียด STEM CELL THERAPY คลิก
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือสำรองเวลาเข้ารับบริการ ได้ที่
R3 Life Wellness Center 42 อาคาร ไอ ซี พี ชั้น 4 ถนนสุรวงศ์ แขวงสี่พระยา เขตบางรัก กทม.
โทร. 0 2233 8000, 088 689 8888
Facebook: https://www.facebook.com/r3lifewellness
Line: @r3lifewellness
อ้างอิง https://mgronline.com/qol/detail/9550000127779