มีบุตรยากต้องอ่าน สารพิษจากโลหะหนักอาจเป็นต้นตอสำคัญ
การมีลูกคือการเติมเต็มครอบครัวในฝันของใครหลายคน แต่ไม่ใช่คู่รักทุกคู่ที่สามารถมีลูกได้ตามต้องการ บางคู่อาจต้องใช้เวลาในการวางแผนเตรียมความพร้อม บางคู่ก็อาจมีปัญหาสุขภาพที่ส่งผลต่อการตั้งครรภ์ และยังมีอีกหลายคู่ที่พยายามหลายวิถีทางแต่ก็ยังไม่สำเร็จเนื่องจากอยู่ในภาวะมีบุตรยากที่ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด
ภาวะมีบุตรยากคืออะไร?
ภาวะมีบุตรยาก (Infertility) คือการที่หญิงชายมีเพศสัมพันธ์กันอย่างน้องสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง โดยไม่มีการคุมกำเนิด ติดต่อกันมากกว่า 1 ปี แต่ยังไม่เกิดการตั้งครรภ์ ลักษณะนี้ถือว่ามีแนวโน้มของภาวะมีบุตรยาก เพราะในทางสถิติแล้ว 80% ของคู่สามีภรรยาที่มีเพศสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอจะตั้งครรภ์ภายในช่วง 1 ปี
นอกจากนี้คู่สามีภรรยาที่เคยมีลูกมาแล้วก็อาจอยู่ในภาวะมีบุตรยากได้ หากพยายามติดต่อกันนานกว่า 1 ปีแล้วยังไม่ตั้งครรภ์ และมักเกิดกับผู้หญิงที่อายุ 40 ปีขึ้นไป
สัญญาณเตือนว่าคุณอาจมีภาวะมีบุตรยาก
สัญญาณที่บ่งบอกถึงภาวะมีบุตรยากสามารถสังเกตได้เบื้องต้น หากพยายามมีลูกนานเกิน 1 ปีแต่ไม่สำเร็จ ให้ลองสังเกตว่าคนในครอบครัวมีประวัติมีลูกยากหรือไม่ หรืออาจเป็นปัญหาสุขภาพจากทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง อาทิ ฝ่ายหญิงประจำเดือนมักจะมาไม่ปกติ ปวดท้องน้อยช่วงประจำเดือน มีความผิดปกติของช่องคลอดหรืออุ้งเชิงกราน เจ็บปวดขณะมีเพศสัมพันธ์ หรือเคยแท้งบุตรมาก่อน ส่วนฝ่ายชายอาจมีน้ำอสุจิน้อย หรือมีปัญหาเกี่ยวกับการหลั่ง อวัยวะเพศไม่แข็งตัว ความผิดปกติเกี่ยวกับอัณฑะ หรือมีประวัติติดเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์ เหล่านี้เป็นสัญญาณเบื้องต้นของภาวะมีบุตรยาก
มีลูกยากเกิดจากอะไร? รวมสาเหตุภาวะมีบุตรยาก
สาเหตุหลัก ๆ ของการมีลูกยากคืออายุที่เพิ่มขึ้น ปัญหาร่างกายเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์ รวมถึงสาเหตุที่ไม่แน่ชัด ซึ่งอาจเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตของทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชายด้วย
สาเหตุภาวะมีบุตรยากในผู้หญิง
- ความผิดปกติของปากมดลูกและมดลูก
- ความผิดปกติของการตกไข่ หรือการสร้างไข่
- ความผิดปกติของช่องคลอด
- ความผิดปกติของอุ้งเชิงกรานและหลอดมดลูก
- โรคประจำตัวทางร่างกายอื่น ๆ
สาเหตุภาวะมีบุตรยากในผู้ชาย
- การสร้างอสุจิที่ผิดปกติ
- การขนส่งอสุจิผิดปกติ
- การหลั่งน้ำอสุจิที่ผิดปกติ
- โรคประจำตัวทางร่างกายอื่นๆ
ภาวะมีบุตรยากโดยไม่ทราบสาเหตุ
หากคู่สมรสทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิงได้ตรวจสุขภาพแล้ว แต่ก็ยังไม่ทราบว่าการมีลูกยากเกิดจากอะไร จะถือว่าเป็นภาวะมีบุตรยากโดยไม่ทราบสาเหตุ สามารถพบได้ราว 5 – 10% ของคู่สมรส โดยมากพบในขั้นตอนปฏิสนธิเมื่อทำเด็กหลอดแก้ว หรือ IVF ซึ่งอาจเกิดจากความไม่พร้อมของร่างกาย แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจวิเคราะห์โดยละเอียด
ภาวะมีบุตรยากจากโลหะหนัก
ทราบหรือไม่ว่า โลหะหนักคือสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะมีบุตรยาก เพราะทำให้เกิดความผิดปกติของระบบสืบพันธุ์ได้ทั้งในเพศชายและเพศหญิง โดยในเพศชายจะมีผลให้ปริมาณและคุณภาพของอสุจิลดลง อสุจิเคลื่อนที่ช้าและผิดรูปร่าง ส่วนในเพศหญิงโลหะหนักส่งผลให้ไข่ไม่ตกตามเวลา หรือไม่เจริญเติบโตเต็มที่ ไข่ที่ปฏิสนธิแล้วฝังตัวในโพรงมดลูกยากขึ้น ประจำเดือนมาไม่ปกติ เกิดความผิดปกติของเยื่อบุมดลูก และเป็นสาเหตุของการแท้งบุตร นอกจากนี้ยังทำให้ฮอร์โมนทั้งเพศชายและเพศหญิงไม่สมดุลอีกด้วย
ถ้าเช่นนั้น โลหะหนักเข้าสู่ร่างกายได้อย่างไร คำตอบก็คือมักแฝงมากับอาหาร ยาและอาหารเสริม เครื่องสำอาง อากาศจากการสูดดมฝุ่นควัน หรือน้ำที่อาจมีการปนเปื้อน รวมถึงเครื่องครัวที่ใช้งาน ส่วนมากเป็นสารโลหะหนักจำพวก ตะกั่ว ปรอท แคดเมีนม ทองแดง โครเมียม และสารหนู เมื่อโลหะหนักที่มีโมเลกุลเล็ก ๆ สะสมในร่างกายมากเกินไปก็จะทำให้ร่างกายทำงานผิดปกติได้
วิธีการตรวจหาสารโลหะหนักในร่างกาย
หากสงสัยว่าโลหะหนักคือตัวการของภาวะการมีบุตรยาก วิธีแก้ไขเบื้องต้นก็คือการตรวจหาสารโลหะหนักในร่างกาย เพื่อจะได้กำจัดออกก่อนเตรียมพร้อมทำ IVF หรือวางแผนการรักษาด้านอื่น ๆ โดยการตรวจทำได้หลายวิธี ทั้งการเจาะเลือด หรือเก็บปัสสาวะและเหงื่อ ซึ่งการตรวจเลือดเป็นวิธีที่ง่ายและตรวจได้แม่นยำที่สุด หากตรวจพบแล้วก็จะเข้าสู่การวางแผนกำจัดสารโลหะหนักต่อไป
การกำจัดพิษจากโลหะหนัก สำหรับผู้วางแผนตั้งครรภ์
โลหะหนักคือหนึ่งในสาเหตุของการมีบุตรยาก หากตรวจพบว่ามีสารโลหะหนักในร่างกายก็สามารถกำจัดออกได้ด้วยวิธีการให้วิตามินเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของตับ ช่วยในการขับสารพิษออกจากร่างกาย หรือหากพบความผิดปกติของร่างกายก็ต้องให้ยาเพื่อทำการรักษา
นอกจากนี้ด้วยวิวัฒนาการทางการแพทย์ ยังมีวิธีกำจัดสารโลหะหนักในร่างกายด้วยการทำคีเลชั่น (Chelation) โดยใช้สารละลาย EDTA (Ethylene Diamine Tetra Acetic Acid) ผสมน้ำเกลือฉีดเข้าสู่ร่างกายเพื่อล้างพิษในกระแสเลือด สารละลายนี้จะเข้าไปจับกับโลหะหนักและแคลเซียมที่ตกค้างในหลอดเลือดแล้วขับออกมาทางปัสสาวะ วิธีการนี้ใช้เวลาเพียง 1-2 ชั่วโมง
เตรียมร่างกายก่อนทำ IVF แก้ปัญหามีบุตรยาก
คู่สมรสที่เผชิญกับภาวะมีบุตรยากส่วนมากจะเลือกการทำเด็กหลอดแก้ว หรือ IVF (In Vitro Fertilization) เป็นการนำไข่และอสุจิมาผสมในห้องปฏิบัติการ ทำให้เกิดการปฏิสนธิภายนอกร่างกาย แล้วย้ายตัวอ่อนกลับเข้าไปในโพรงมดลูกให้ฝังตัวและเกิดการตั้งครรภ์ ซึ่งการทำ IVF ทั้งว่าที่คุณพ่อและว่าที่คุณแม่จะต้องเตรียมความพร้อมของร่างกายล่วงหน้าเพื่อให้การทำ IVF ประสบความสำเร็จ โดยฉพาะการเตรียมร่างกายให้แข็งแรง มีรายละเอียดเพิ่มเติมดังนี้
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ให้ร่างกายได้รับสารอาหาร วิตามิน และแร่ธาตุที่จำเป็นสำหรับการผลิตไข่และสเปิร์ม
- การออกกำลังกายและควบคุมน้ำหนัก เพราะการมีน้ำหนักตัวที่ไม่ได้มาตรฐาน BMI อาจส่งผลต่อภาวะเจริญพันธุ์ จึงจำเป็นต้องคุมน้ำหนัก และออกกำลังกายอย่างเหมาะสม สำหรับว่าที่คุณแม่แนะนำให้ออกกำลังกายโดยการเดินหรือเล่นโยคะ และหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายอย่างหนัก ส่วนว่าที่คุณพ่อแนะนำให้งดการออกกำลังกายด้วยการปั่นจักรยานชั่วคราว
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อให้ร่างกายได้ซ่อมแซมอวัยวะส่วนต่าง ๆ จึงเพิ่มโอกาสในการทำ IVF ให้สำเร็จ
- ลด เลี่ยงการดื่มคาเฟอีนที่มากเกินไป หรือเกิน 1 – 2 แก้วต่อวัน เพราะการดื่มคาเฟอีนมากเกินไปจะลดโอกาสในการตั้งครรภ์ถึง 50%
- งดสูบบุหรี่และแอลกอฮอล์ เพราะมีผลต่อคุณภาพของอสุจิ ลดการเจริญพันธุ์ และทำให้ตัวอ่อนฝังในมดลูกยากขึ้น
- ลดความเครียด หรือความกดดันในการตั้งครรภ์
- งดมีเพศสัมพันธ์ หรือการหลั่งทุกชนิด ก่อนการเก็บอสุจิ 3 – 4 วัน เพื่อให้ได้สเปิร์มมากพอต่อการคัดเชื้อและเป็นสเปิร์มที่แข็งแรง รวมทั้งรักษาอุณหภูมิของอัณฑะให้เย็น เลี่ยงการอาบน้ำร้อน หรือวางแล็ปท็อปไว้บนตัก
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารเคมีหรือโลหะหนัก ควรตรวจหาสารโลหะหนักในร่างกายและกำจัดอย่างถูกวิธีก่อนทำ IVF
สเต็มเซลล์ เพื่อฟื้นฟูสุขภาพและเพิ่มโอกาสในการมีบุตร
จากคำแนะนำในการเตรียมร่างกายให้พร้อมก่อนทำ IVF จะเห็นได้ว่าการรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเต็มร้อยมีความสำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งการใช้สเต็มเซลล์ในการฟื้นฟูสุขภาพสามารถช่วยเสริมสร้างร่างกายให้พร้อมสำหรับการตั้งครรภ์ได้ เพราะสเต็มเซลล์ หรือเซลล์ต้นกำเนิดมีความสามารถในการแบ่งตัวอย่างไม่จำกัด จึงเปลี่ยนไปเป็นเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายได้ เช่น เซลล์ผิวหนัง เซลล์กล้ามเนื้อ เซลล์เม็ดเลือดแดง หรือเซลล์อื่น ๆ ในร่างกาย มันจะไปช่วยซ่อมแซม ฟื้นฟู เซลล์ที่เสื่อมหรืออักเสบ ในกลุ่มคนที่มีปัญหาผนังมดลูกบาง ทำให้ตัวอ่อนไม่สามารถฝังตัวได้ จนเกิดภาวะการมีบุตรยาก วิธีแก้ไขอีกวิธีหนึ่งคือการใช้สเต็มเซลล์ช่วยเพิ่มความหนาให้ผนังมดลูก นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศในผู้ชายได้อีกด้วย
สำหรับขั้นตอนการใช้สเต็มเซลล์เพื่อฟื้นฟูร่างกาย จะเริ่มจากการปรึกษาแพทย์ที่ได้รับการรับรองจากสมาคมเซลล์บำบัดแห่งประเทศไทย เพื่อตรวจวิเคราะห์และให้คำแนะนำ และเริ่มฉีดสเต็มเซลล์ผ่านทางเส้นเลือดเพื่อให้เซลล์เข้าไปยังบริเวณที่มีปัญหาต้องการการฟื้นฟู
ภาวะมีบุตรยากจัดเป็นปัญหาหนึ่งสำหรับครอบครัวในยุคปัจจุบัน ที่แม้จะมีเทคโนโลยีทางการแพทย์ใหม่ ๆ มาช่วยแก้ปัญหา แต่ก็ไม่ได้การันตีว่าทุกครอบครัวจะได้ผลลัพธ์ที่ดีเช่นเดียวกัน เมื่อนานวันหากยังไม่สามารถมีลูกได้ก็ยิ่งรู้สึกท้อแท้หรือหมดหวัง บางครั้งปัญหาที่ว่ามีลูกยากเกิดจากอะไรก็มาจากสาเหตุด้านสุขภาพเนี่ยแหละ เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการมีบุตร เราจึงควรเริ่มต้นมองหาตัวช่วยฟื้นฟูสุขภาพตัวเองให้แข็งแรงประกอบกับการวางแผนตั้งครรภ์ เพื่อเพิ่มโอกาสมีลูกได้สมใจ ไม่ผิดหวัง และฝ่ายผู้หญิงไม่ต้องเจ็บตัวหลายครั้ง ทั้งนี้หากพ่อแม่แข็งแรง ลูกที่เกิดมาก็มีแนวโน้มแข็งแรงด้วย