L-carnitine ลดน้ำหนัก สลายไขมัน ตัวช่วยของคนลดน้ำหนัก 
แอลคาร์นิทีน (L-carnitine) คำที่รู้จักกันดีในกลุ่มคนรักสุขภาพ ที่นิยมดูแลรูปร่างด้วยการออกกำลังกาย เมื่อเห็นคำว่าแอลคาร์นิทีน สรรพคุณที่รู้ได้ทันทีก็คือช่วยเร่งการเผาผลาญไขมัน แต่สำหรับคนที่ไม่ได้ออกกำลังกาย สามารถรับประทานแอลคาร์นิทีนเพื่อเป็นตัวช่วยในการควบคุมน้ำหนักได้หรือไม่ หรือมีข้อควรรู้อะไรบ้างหากต้องการใช้ L-carnitine ลดน้ำหนัก ลองมาหาคำตอบไปพร้อม ๆ กัน
L-Carnitine คืออะไร
แอลคาร์นิทีน หรือ L-carnitine คือสารชนิดหนึ่งที่ร่างกายสามารถสร้างได้เองจากตับและไต ประกอบด้วยกรดอะมิโน 2 ชนิดคือ ไลซีน (Lysine) ที่จำเป็นต่อการซ่อมแซมเนื้อเยื่อ เสริมภูมิคุ้มกันและฮอร์โมนต่าง ๆ ในร่างกาย และเมไทโอนีน (Methionine) กรดอะมิโนที่เป็นแหล่งของซัลเฟอร์ (sulfur) มีหน้าที่หลักคือกระตุ้นการเผาผลาญไขมัน ลดการสะสมของไขมันในตับ โดยแอลคาร์นิทีนจะพบบริเวณกล้ามเนื้อ พร้อมช่วยให้ร่างกายดึงเอาไขมันไปสร้างเป็นพลังงาน คนที่ดูแลรูปร่างจึงใช้ L-carnitine ลดน้ำหนัก เร่งการเผาผลาญไขมัน และเพิ่มกล้ามเนื้อ
หน้าที่ของแอลคาร์นิทีน (L-Carnitine) ในร่างกาย
หน้าที่หลักของ L-carnitine คือการเปลี่ยนไขมันให้เป็นกล้ามเนื้อ โดยการลำเลียงกรดไขมันผ่านไมโทคอนเดรีย (Mitochondria) เซลล์ที่ทำหน้าที่เผาผลาญไขมันเพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงานที่มีโมเลกุล acetyl CoA อยู่ ถ้าเรายิ่งออกกำลังกายมากขึ้น กล้ามเนื้อจะยิ่งเมื่อยล้า acetyl CoA จะเข้าไปช่วยยับยั้งความล้าด้วยกระบวนการเปลี่ยนไขมันเป็นกล้ามเนื้อโดยผ่านสารแอลคาร์นิทีนในร่างกายนั่นเอง
L-carnitine ประโยชน์เน้น ๆ สำหรับร่างกาย
เมื่อพูดถึง L-Carnitine ประโยชน์หลัก ๆ ที่เรารู้กันคือ การใช้ L-Carnitine ลดน้ำหนัก แต่ที่จริงแล้วแอลคาร์นิทีนสรรพคุณดีมีมากมาย ดังนี้
- เพิ่มสมรรถนะของร่างกายในการเล่นกีฬา เพราะแอลคาร์นิทีนสรรพคุณเด่นคือการดึงไขมันเปลี่ยนเป็นกล้ามเนื้อ จึงทำให้ร่างกายทนทานต่อการออกกำลังกาย กระตุ้นการทำงานของหัวใจ แอลคาร์นิทีนจึงถูกนำไปเป็นส่วนผสมในเครื่องดื่มหรือโปรตีนเสริมสำหรับนักกีฬา
- ช่วยลดอาการเมื่อยล้า ช่วยการทำงานของไมโทคอนเดรียที่ทำหน้าที่เผาผลาญไขมัน สร้างพลังงาน และช่วยลดการเมื่อยล้า
- ดูแลการทำงานของหัวใจ นอกจากกระตุ้นการทำงานของหัวใจแล้ว แอลคาร์นิทีนยังช่วยลดความดันโลหิตและ
- ช่วยควบคุมโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จากผลการทดลองรับประทานแอลคาร์นิทีนควบคู่กับการคุมปริมาณแคลลอรี่ติดต่อกัน 10 วันผลลัพธ์คือร่างกายดื้ออินซูลินน้อยลง ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์ที่ดี
- เสริมสมรรถภาพทางเพศ แก้ปัญหาการมีบุตรยากจากสาเหตุสเปิร์มน้อย หรือไม่แข็งแรง
- เสริมสร้างความจำ ดูแลเซลล์สมองจากการเสื่อมสภาพตามวัย
หากขาด L-Carnitine (แอลคาร์นิทีน) จะส่งผลต่อร่างกายอย่างไร
สัญญาณที่เห็นได้ชัดเมื่อร่างกายขาดแอลคาร์นิทีนก็คือ ความเมื่อยล้า หรือกล้ามเนื้อที่อ่อนล้า แขนขาไม่มีแรง มีอาการเจ็บหน้าอก ความดันโลหิตต่ำ รวมทั้งมีอาการมึนงง สมองไม่แจ่มใส อาการขาดแอลคาร์นิทีนพบมากในกลุ่มคนที่รับประทานมังสวิรัติที่ได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน ผู้ป่วยที่มีปัญหาการดูดซึมของระบบย่อยอาหาร หรือมีความผิดปกติของตับและไต
แหล่งอาหารที่มีแอลคาร์นิทีน (L-carnitine)
เราสามารถได้รับแอลคาร์นิทีนจากการรับประทานอาหารในแต่ละวัน โดยเฉพาะอาหารในกลุ่มต่าง ๆ ดังนี้
- เนื้อสัตว์ หรือสัตว์เนื้อแดง และผลิตภัณฑ์จากนม
- เมล็ดพืชต่าง ๆ เช่น งา เมล็ดฟักทอง เมล็ดทานตะวัน
- เมล็ดถั่ว เช่น ถั่วเหลือง ถั่วลิสง
- ธัญพืช เช่น ข้าวโอ๊ต ข้าวสาลี ข้าวโพด ลูกเดือย
- ผัก เช่น หน่อไม้รั่ง บร็อคโคลี่ คะน้า ผักกาดเขียว
- ผลไม้ เช่น กล้วย แอปริคอต
ผลข้างเคียงและความปลอดภัยของแอลคาร์นิทีน
การรับประทานแอลคาร์นิทีนและการฉีดเข้าร่างกายถือว่ามีความปลอดภัย หากรับประทานในปริมาณที่พอดี และอยู่ภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญ แต่หากได้รับในปริมาณมากเกินไป หรือผิดวิธี ก็อาจมีผลข้างเคียงได้ดังนี้
- เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน
- ปวดท้อง ท้องร่วง แสบร้อนกลางอก
- อาการชัดเกร็ง
- เหงื่อ ปัสสาวะ ลมหายใจ มีกลิ่นคาว
- ไม่ควรใช้แอลคาร์นิทีนควบคู่กับดีแอลคาร์นิทีน (DL-carnitine) เพราะจะเข้าไปทำลายแอลคาร์นิทีนในร่างกาย ส่งผลให้ขาดแอลคาร์นิทีนในที่สุด
ปริมาณการใช้ และข้อควรระวังในการใช้แอลคาร์นิทีน
สำหรับใครที่ต้องการเสริมแอลคาร์นิทีนเข้าสู่ร่างกาย แนะนำให้อยู่ในปริมาณ 500-1000 มิลลิกรัมต่อวัน ยกเว้นกลุ่มคนต่อไปนี้ควรหลีกเลี่ยงการใช้แอลคาร์นิทีน หรืออยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์
- เด็ก สามารถเสริมแอลคาร์นิทีนได้หากมีความจำเป็น โดยต้องได้รับในประมาณพอเหมาะและในระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน
- สตรีมีครรภ์และอยู่ระหว่างให้นมบุตร ปัจจุบันยังไม่มีงานวิจัยมารองรับเกี่ยวกับความปลอดภัยจากการเสริมแอลคาร์นิทีนในคนกลุ่มนี้ จึงแนะนำให้หลีกเลี่ยงเพื่อความปลอดภัย
- ผู้ป่วยโรคไต มีรายงานว่าผู้ป่วยโรคไตที่ได้รับการฉีดแอลคาร์นิทีนหลังฟอกไตมีโอกาสเกิดอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือตาหย่อนได้
- ผู้ป่วยโรคต่อมไทรอยด์ แอลคาร์นิทีนอาจส่งผลต่อภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย ทำให้อาการทรุดหนักลง
- กระตุ้นอาการชักเกร็งในผู้ป่วยที่เคยเกิดอาการชักเกร็ง แอลคาร์นิทีนอาจกระตุ้นให้อาการเกิดซ้ำได้บ่อยขึ้น
L-Carnitine (แอลคาร์นิทิน) กับการลดน้ำหนัก
แอลคาร์นิทีนสรรพคุณที่สำคัญคือการเผาผลาญไขมันและเปลี่ยนเป็นพลังงานให้กับร่างกาย ช่วยลดความเมื่อยล้าจากการใช้กล้ามเนื้ออย่างหนัก และเสริมประสิทธิภาพในการออกกำลังกาย ทำให้หลายคนเชื่อว่า L-Carnitine ลดน้ำหนักได้ อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันยังไม่มีงานวิจัยที่ยืนยันว่าการรับประทานหรือฉีด L-Carnitine สามารถลดน้ำหนักได้โดยตรง
สำหรับใครที่อยากลองลดน้ำหนักแบบมีตัวช่วย โปรแกรม FAT Burning อาจเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยเติม L-Carnitine ให้กับร่างกาย เสริมการทำงานของกล้ามเนื้อ สมอง และหัวใจ ช่วยให้ไขมันเปลี่ยนเป็นพลังงานได้เร็วขึ้น และช่วยเร่งกระบวนการเผาผลาญไขมันให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการดูแลรูปร่างและปั้นหุ่นให้สวย ทั้งนี้ การได้รับคำแนะนำจากแพทย์ด้านเวชศาสตร์ชะลอวัยจะช่วยให้การดูแลสุขภาพเป็นไปอย่างปลอดภัยและตรงกับความต้องการของแต่ละบุคคล
การเลือกคลินิกสำหรับการดริปวิตามิน ควรให้ความสำคัญกับมาตรฐานการดูแลที่ครบวงจร ตั้งแต่การตรวจสุขภาพในห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองมาตรฐานสากล ไปจนถึงการวิเคราะห์สุขภาพเฉพาะบุคคลเพื่อออกแบบโปรแกรมที่เหมาะสม นอกจากนี้ ควรอยู่ภายใต้การดูแลของทีมแพทย์ด้านเวชศาสตร์ชะลอวัย (Anti-Aging) และเวชศาสตร์ฟื้นฟู (Regenerative Medicine) ที่ได้รับการรับรองจาก American Board of Anti-Aging and Regenerative Medicine (ABAARM)
สุขภาพที่ดีไม่ใช่แค่เรื่องของรูปร่าง แต่คือการดูแลร่างกายอย่างรอบด้าน ควรเลือกวิธีที่เหมาะสม ที่สำคัญคือ คุณหมอที่ให้การดูแลควรมีความรู้ด้านนี้อย่างชัดเจน พร้อมทีมพยาบาลวิชาชีพและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐาน ของแท้ เพื่อให้การลดน้ำหนักเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ดีต่อสุขภาพในระยะยาว
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือสำรองเวลาเข้ารับบริการ ได้ที่
R3 Life Wellness Center 42 อาคาร ไอ ซี พี ชั้น 4 ถนนสุรวงศ์ แขวงสี่พระยา เขตบางรัก กทม.
- Tel.: 0 2233 8000 , 088 689 8888
- Whatsapp: (+66) 88 689 8888
- Line OA: @r3lifewellness
- Facebook: https://www.facebook.com/r3lifewellness
- Instagram: https://www.instagram.com/r3lifewellness_official/
- Flagship Location: https://maps.app.goo.gl/b3sw5oYTtTUHSM956